วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เครื่อข่าย

โมเด็ม

โปรโตคอล

สื่อกลาง

ข้อมูล,ข่าวสาร

ผู้ส่ง

ผู้รับ

ความแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลกับฐานข้อมูล

     Traditional File Processing VS Database Systems ในสมัยก่อนนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการนำกลับมาใช้บนระบบคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลทั้งสิ้น แต่เมื่อโลกมีการพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ต้องจัดเก็บมีอยู่มากมาย การใช้แต่เพียงแฟ้มข้อมูลเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป จึงทำให้มีการนำเสนอแนวความคิดระบบฐานข้อมูลขึ้น เพื่อจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้

 

ข้อแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลกับฐานข้อมูล

1. ฐานข้อมูลมีส่วนการบรรยายโครงสร้างข้อมูลแยกจากฐานข้อมูล

2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลแยกกันโดยเด็ดขาดในระบบฐานข้อมูล

3. ฐานข้อมูลสนับสนุนการใช้งานของข้อมูล

4. การใช้ข้อมูลร่วมกันและการประมวลผล



1. ฐานข้อมูลมีส่วนการบรรยายโครงสร้างข้อมูลแยกจากฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลมีส่วนการบรรยายโครงสร้างข้อมูลแยกจากฐานข้อมูลกล่าวคือ ในระบบฐานข้อมูลนั้นมีส่วนที่เรียกว่า แค็ตตาล็อก (catalog) หรือพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งเก็บรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของข้อมูลในฐานข้อมูลไว้ เช่น ชนิดและรูปแบบของข้อมูลในฐานข้อมูล และข้อจำกัดต่างๆ ที่มีต่อข้อมูลแต่ละส่วน เป็นต้น ในขณะที่แฟ้มข้อมูลจะเก็บรายละเอียดเหล่านี้ไว้ในส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้วยกันเลย ซึ่งอาจกระจัด กระจายไปอยู่ตามส่วนต่างๆ จึงทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้และปรับปรุงงาน

2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลแยกกันโดยเด็ดขาดในระบบฐานข้อมูล

โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลแยกกันโดยเด็ดขาดในระบบฐานข้อมูล นั่นคือส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดการข้อมูลจะถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเรียกกันว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนข้อมูลก็จะแยกอยู่ในส่วนของฐานข้อมูล ซึ่งการแยกนี้เป็นการซ่อนรายละเอียดของการจัดการข้อมูลไว้จากตัวข้อมูล เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่ต้องยุ่งยากกับรายละเอียดของการจัดเก็บข้อมูล โดยให้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือจัดการให้แทน ซึ่งแตกต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่จะรวมส่วนของโปรแกรมและข้อมูลไว้ด้วยกัน ผลเสียก็คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อมูล ส่วนของโปรแกรมก็จะต้องปรับตามไปด้วย มิฉะนั้น แฟ้มข้อมูลดังกล่าวก็จะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อีก

3. ฐานข้อมูลสนับสนุนการใช้งานของข้อมูล

ฐานข้อมูลสนับสนุนการใช้งานของข้อมูลในหลายๆ รูปแบบผู้ใช้คนหนึ่งอาจจะต้องการรายงาน หรือข้อสรุปของข้อมูลชุดหนึ่งในหลายๆ รูปแบบ ทั้งแบบตาราง แบบกราฟ และแบบบทความ ซึ่งในส่วนนี้ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลให้แก่ผู้ใช้ ส่วนในแนวคิดแบบแฟ้มข้อมูลนั้น เมื่อผู้ใช้ต้องการรายงานแบบใหม่ ผู้ใช้จะต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้งานอย่างที่ต้องการ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลาในการใช้งานอย่างมาก

4. การใช้ข้อมูลร่วมกันและการประมวลผล

การใช้ข้อมูลร่วมกันและการประมวลผลการเปลี่ยนแปลงรายการแบบหลายผู้ใช้ (multiuser transaction processing)ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน ต้องมีการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ โดยที่ระบบจะต้องจัดการข้อมูลให้แก่ผู้ใช้แต่ละคนอย่างถูกต้องด้วย ถึงแม้ว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะเรียกใช้ข้อมูลเดียวกัน ณ เวลาเดียวกัน ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะต้องมีส่วนควบคุมการทำงานแบบพร้อมกัน (Concurrency Control) ซึ่งในการทำงานแบบแฟ้มข้อมูลจะไม่มีส่วนจัดการในเรื่องนี้

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฐานข้อมูล

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

     1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
     2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอ ททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
     3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database) ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ


โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้


โปรแกรมฐานข้อมูลเป็น โปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล

โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า

โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย

โปรแกรม FoxPro เป็น โปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน

โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย

โปรแกรม SQL เป็น โปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป


แฟ้มข้อมูล

ประเภทของแฟ้มข้มูล

ประเภทของแฟ้มข้อมูล  สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
1.แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มที่เก็บข้อมูลอย่างถาวร แฟ้มนี้จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยนักเพราะการปรับปรุงข้อมูลจะกระทำจากแฟ้มรายการ (Transaction File) ดังนั้นข้อมูลที่เก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลหลักจะเป็นข้อมูลที่ทันสมัย (Up to date) อยู่เสมอ สามารถนำไปอ้างอิงได้ เช่น แฟ้มข้อมูลพนักงาน แฟ้มรายการสินค้า แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลภาควิชา

2.แฟ้มรายการ (Transaction File) เป็นแฟ้มข้อมูลชั่วคราว ที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลง ของแฟ้มข้อมูลหลักหรือทำหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูลหลัก มีการเก็บเป็นรายการย่อย ๆ โดยอาจจัดเรียงข้อมูลให้เหมือนแฟ้มข้อมูลหลัก เพื่อนำไปปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักให้ทันสมัย เมื่อปฏิบัติงานเสร็จสิ้นก็จะถูกลบทิ้งโดยอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่ใช้ในธุรกิจประจำวัน เช่น แฟ้มข้อมูลรายการขายสินค้าประจำวัน รายการฝากถอนเงิน ฯลฯ

3.แฟ้มดัชนี (Index File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยในการประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่ถูกสร้างมาจากแฟ้มข้อมูลหลัก คือ เป็นแฟ้มดัชนีของแฟ้มข้อมูลหลักนั่นเอง เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลักให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แฟ้มดัชนีเป็นแฟ้มข้อมูลที่ผ่านการจัดเรียงแล้ว โดยการจัดเรียงตาม คีย์หลักของแฟ้มข้อมูลหลัก โดยปกติแล้วแฟ้มดัชนีประกอบด้วย ฟิลด์ 2 ฟิลด์ ด้วยกันคือ ฟิลด์ที่เป็นคีย์หลักของแฟ้มข้อมูลหลัก และ ฟิลด์ที่เก็บตำแหน่งระเบียนของคีย์หลัก ในแฟ้มข้อมูลหลัก

4.แฟ้มงาน (Work File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างในระหว่างการทำงานของโปรแกรมระบบงาน เมื่อสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม แฟ้มข้อมูลปะเภทนี้จะถูกลบทิ้งทันที เช่น Temp File ที่ถูกสร้างโดย ระบบวินโดว์   เป็นต้น

5.แฟ้มรายงาน (Report File)  เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับรายงานผลออกทางจอภาพ (Monitor) หรือทางเครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งเราสามารถจัดรูปแบบของรายงานได้ตามต้องการ

6.แฟ้มสำรอง (Backup File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่คัดลอกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อสำรองเก็บไว้เมื่อเกิดปัญหากับแฟ้มข้อมูลหลัก ก็สามารถนำแฟ้มสำรองกลับมาใช้งานได้ ถือว่าเป็นแฟ้มที่มีความสำคัญมากประเภทหนึ่ง